Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Skip to content

วันที่โพสต์

01 Aug 2024

ประเภทบทความ

เสนอต่อร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2567 สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) และภาคีเครือข่ายจํานวนกว่า 10 องค์กรได้ประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะต่อ-ร่าง-พระราชบัญญัติสุขภาพจิ โดยการเสวนามีประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง

  1. การตั้งกองทุนสุขภาพจิต อย่างแรกคือปัจจุบันเงินทุนสามารถนำไปจัดโครงการแล้วจบไป ไม่เพียงพอในการสร้างระบบที่ครอบคลุมดูแลสุขภาพจิตของทุกคนอย่างยั่งยืน อย่างที่สองคือการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่าวน ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน รวมถึงคนที่เป็นทั้งแพทย์ และไม่ใช่แพทย์ มาระดุมทุนและมองหาทางออกร่วมกัน
  2. แยกความแตกต่างระหว่างสุขภาพจิตกับยาเสพติด “ความผิดปกติทางจิต” ไม่ได้มาจากการเสพยาเสพติดอย่างเดียว แต่อาจมาจากปัจจัยสุขภาพอื่นๆ เช่น มลพิษและสิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยี เป็นต้น และในทางปฏิบัตินั้นการรวมสองงานนี้อาจทำให้เกิดข้อท้าทายเช่น 1. การซ้อนทับกับหน่อยงานอื่นๆที่มีอยู่แล้ว และ 2. ภาระของหน้างานในพื้นที่ถึงแม้เราจะบอกว่าการรวมสองเรื่องนี้เข้าด้วยกัน จะเป็นฐานทางกฎหมายให้อำนาจคนทำงาน ขณะเดียวกันถ้าไม่มีแผนพัฒนาคน ก็จะทำให้งานล้นมือ
  3. เสนอให้มีการจัดการข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจิต โดยการเพิ่มขอบข่ายของมาตรา 20/3 ให้ครอบคลุมข้อมูลที่คุกคามสุขภาพจิตและผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ข้อมูลและการนําเสนอที่กระตุ้นอารมณ์ทางลบของคน ทิ้งบาดแผลทางจิตใจ (trauma) ผลิตซํ้าและส่งต่อความรุนแรงและอคติรวมถึงการตีตรา และแก้งคอล เซ็นเตอร์ เป็นต้น

นอกจากนั้น มีการเสนอว่าควรให้มีการนิยาม "การมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นสิทธิมนุษยชน" เพราะปัจจุบันเมื่อพูดถึงสุขภาพจิตนั้นคนส่วนมากมักนึกถึงคนมีปัญหาเท่านั้น แต้จริงๆแล้วการมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นสำคัญกับมนุษย์ทุกคนเพื่อให้เขาไม่แค่ผ่านพ้นปัญหาใตแบะเติบโตงอกงามเป็นคนที่มีความสุข

หากไม่มีการนิยามนี้คาดว่าร่าง พ.ร.บ.นี้อาจสูญเสียอำนาจในการสร้างสังคม และนำไปในการแพทย์เป็นหลัก แต่สุดท้ายการแพทย์จะรับมือกับเรื่องนี้ไม่ไหวเช่นกัน เพราะปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่ปัญหาที่รักษาได้ผ่านการแพทย์อย่างเดียวแต่ต้องทำร่วมไปกับการพัฒนาสังคม การเลี้ยงดู และระบบนิเวศในทุกระดับ

ผลสรุปการแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิตจากผู้ตอบแบบสอบถาม 1,143 คน แสดงให้เห็นว่ามีคนเห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.สุขภาพจิต 98.69 %(1,128 คน) ไม่เห็นด้วย 1.31 % (15 คน) และยังมีการเห็นด้วยกับการจัดตั้ง “กองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ” จำนวนมากถึง 97.99% (1,120 คน)

นพ.พงศ์เกษม อธิบดีกรมสุขภาพจิต  กล่าวถึงประเด็นที่มีการควบรวมประเด็นยาเสพติดเข้ามาใน ยืนยันว่าไม่ได้ทอดทิ้งเรื่องจิตเวชทั่วไปและเห็นความสำคัญของการส่งเสริมปกป้อง ซึ่งต้องทำตั้งแต่วันเด็กจนถึงโต แต่อย่างไรก็ตาม นพ.พงศ์เกษม มองว่าเรื่องยาเสพติดกับเรื่องสมองมันไปด้วยกัน เพราะการเสพยาเสพติดส่งผลทำลายสมองให้มีอาการทางจิตเวชเช่นกัน จึงควรมีนโยบายของรัฐบาลที่จะทำเรื่องนี้ที่มันผสมผสานกันจะได้ดูแลครบวงจร นอกจากนั้นนพ.พงศ์เกษม ยังเห็นด้วยกับการตั้งกองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ แต่ต้องพยายามให้ไม่ซ้ำซ้อนกับจุดอื่นๆ เช่น กรมบัญชีกลาง ประกันสังคม หรือบัตรทอง

อ่านข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพจิต: ข้อเสนอแนะต่อ-ร่าง-พระราชบัญญัติสุขภาพจิต

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ThaiPBS

 

อ้างอิง

Thai PBS (2024, August 30). ตรงประเด็น - น้ําท่วม เยียวยาใจไหม | Thai PBS รายการไทยพีบีเอส [Video]. Thai PBS. https://www.thaipbs.or.th/program/ActiveFocus/episodes/103647

ชําแหละ ร่าง พ.ร.บ. สุขภาพจิต ฉบับใหม่. (2024, July 31). https://policywatch.thaipbs.or.th/article/life-56

ร่างพรบ.สุขภาพจิต ผ่านรับฟังความคิดเห็น หนุน 98% เห็นด้วยตั้งกองทุนเฉพาะ | hfocus.org. (2024, August 31). Hfocus.org. https://www.hfocus.org/content/2024/08/31365

เลิศบำรุงชัย, ว. (2024, August 8). สธ. ขานรับข้อเสนอ ร่างพ.ร.บ.สุขภาพจิต หนุนส่งเสริมป้องกันทุกมิติ | The Active. The Active. https://theactive.net/news/public-health-20230508-2/

เลิศบำรุงชัย, ว. (2024, August 2). เปิดข้อเสนอ 'เครือข่ายสุขภาวะทางจิต' ต่อร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต | The Active. The Active. https://theactive.net/news/publichealth-20240802-2/

วันที่โพสต์

01 Aug 2024

ประเภทบทความ

ผู้เขียน

แชร์คอนเทนต์นี้